เมนู

โยมได้เลือกคัดจัดสรรเอามาไต่ถาม คนอื่นนอกจากทานที่มีปัญญาเช่นพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ที่
ไหนเล่าจะพึงแก้ปัญหานี้ได้ พระผู้เป็นเจ้ามีปัญญาเฉลียวฉลาดมีความสามารถในการแก้ปัญหา
จึงวิสัชนาปัญหาของโยมนี้ให้หมดจดขาวบริสุทธิ์สิ้นวิมัติกังขาสงสัยโยมจะทรงจำไว้ในพระหฤทัย
โดยไม่มีความเคลือบแคลงตลอดกาลทุกเมื่อ
ยักขานัง มรณภาวปัญหา คำรบ 1 จบเพียงนี้

สิกขาปทอปัญญาปนปัญหา ที่ 2


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรสุนทรปรีชามหากษัตริย์มีพระราชโองการตรัส
ถามปัญหาอื่นสืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ ในกาลล่วงไปแล้ว มี
อาจารย์ของหมอผู้ประกอบยารักษาโรคอยู่ 7 คน ชื่อนารทะคนหนึ่ง ชื่อธัมมันตริกะคนหนึ่ง ชื่อ
อังคีรสะคนหนึ่ง ชื่อกปิละคนหนึ่ง ชื้อกัณฑรัตติกามะคนหนึ่ง ชื่อตุละคนหนึ่ง ชื่อปุพพกัจ-
จายนะคนหนึ่ง อาจารย์เหล่านี้ รู้อุบัติความบังเกิดขึ้นแห่งโรค รู้โรคนิทาน คือ รู้ว่าโรคชนิดนี้
บังเกิดขึ้นแล้ว ต่อไปจะต้องเป็นอย่างนั้น ๆ และรู้ความเจริญความกำเริบของโรค รู้สมุฏฐาน
ของโรค รู้อาการของโรค รู้รักษา และรู้ว่าจะรักษาหายหรือไม่หาย ตกว่าอาจารย์เหล่านั้นตรวจ
ครั้งเดียว ก็รู้อาการของโรคนั้นทั้งหมดว่า โรคทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ จักบังเกิดขึ้นในกายนี้
เป็นมั่นคง เสมือนหนึ่งว่าม้วนด้ายเขากลุ่ม จับต้นเชือกได้แล้วก็ม้วนไปเป็นลำดับฉะนั้น อาจารย์
เหล่านี้มิใช่เป็นพระสัพพัญญูยังรู้อาการของโรคได้เป็นสายไปฉะนี้ ส่วนพระตถาคตเป็นพระสัพ-
พัญญูรู้อนาคตรู้ได้ทั้งหมด ไฉนเมื่อเรื่องมีประมาณเท่านี้บังเกิดขึ้น พระองค์จึงไม่เอาพุทธญาณ
เข้าจับ ทรงบัญญัติสิกขาบทให้มีประมาณเท่านั้น ชอบแต่ว่พระองค์จะทรงกำหนดบัญญัติสิก-
ขาบทเสียให้หมดในคราวเดียว นี่อะไร ต่อเมื่อมีเรื่องบังเกิดขึ้นแล้ว ความเสียหายได้ปรากฏ
แพร่หลายไป จนถูกติเตียนนินทาต่าง ๆ แล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกในกาลนั้น พระ
ตถาคตเป็นเช่นนี้ จะแปลว่ากระไร พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรวิสัชนาว่า ญาตเมตํ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราช-
สมภารผู้ประเสริฐ การบัญญัติสิกขาบทคาดหน้านั้น พระตถาคตทรงทราบเข้าใจได้ดีว่าเมื่อมนุษย์
ทั้งหลายติเตียนโพนทะนาอยู่ พระองค์ควรจะทรงบัญญัติสิกขาบทในคราวเดียวนี้ ให้ครบ 150
สิกขาบทกว่า ๆ แต่พระองค์ทรงพระปริวิตกว่า ถ้าอาตมาจะทรงบัญญัติสิกขาบทตั้ง 150 กว่า